![]() ![]() |
บริษัท โปรเกรส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ โปรดัคส์ จำกัด เครื่องปั้นเม็ดปุ๋ยชีวภาพ ไลอ้อนวัน "ปั้นเป็นเม็ดปุ๋ยง่ายๆ ใครก็ทำได้" |
เครื่องปั้นเม็ดปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไลอ้อนวัน | ||
![]() | ||
เครื่องปั้นเม็ดปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไลอ้อนวัน เป็นเครื่องที่รวมวิธีการผลิตเม็ดปุ๋ยทั้งระบบปั้นเม็ดและระบบอัดเม็ดเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นยังได้รับการออกแบบโดยหลักทางวิศวกรรมศาสตร์อย่างแท้จริง แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆได้เกือบทั้งหมด สามารถแยกรายละเอียดออกได้ดังนี้ | ||
1.การปั้นเม็ดปุ๋ยจะต้องทำง่าย ๆ ใครก็ทำได้ ไลอ้อนวันออกแบบให้มีขบวนการผลิตเม็ดปุ๋ยที่ต่อเนื่องและเป็นระบบค่อนข้างอัตโนมัติ กล่าวคือเมื่อใส่ปุ๋ยผงที่ต้นขบวนการ แล้วรอรับปุ๋ยเม็ดที่ปลายทางได้เลย โดยปล่อยให้เครื่องทำงานไปตามขบวนการโดยอัตโนมัติ | ||
![]() |
ณ จุดต้นทางคือถังผสมปุ๋ยของไลอ้อนวันออกแบบเป็นถังผสมระบบถังคู่ทั้งนี้เพื่อ ต้องการให้มีการทำงานที่ต่อเนื่อง โดยจะผสมอินทรีย์สารกับสารอาหารของพืช พร้อมกับเพิ่มความชื้นให้กับผงปุ๋ยเพื่อให้มีแรงเกาะยึดตัวกัน การผสมดังกล่าว จะทำพร้อมกันทั้งสองถัง แต่หากขณะปล่อยผงปุ๋ยเข้าระบบจะปล่อยทีละถัง ดังนั้นจะมีปุ๋ยที่ผสมรออยู่อีกหนึ่งถัง เมื่อถังแรกหมดก็ปล่อยถังที่สอง ระหว่างนั้น ก็จะผสมปุ๋ยในถังแรกรอไว้อีก การทำงานจะสลับกันไปเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง การผสมปุ๋ยที่ถังผสมนี้เป็นไปอย่างง่ายดาย เพียงแต่ผู้ปฏิบัติงานจำอัตราส่วนผสมว่าใส่ผงปุ๋ยในถังครั้งละกี่กิโลกรัม ใส่อาหารเสริมกี่กิโลกรัมและปริมาณน้ำที่เพิ่มความชื้นโดยใช้ถังตวงน้ำเพียงอันเดียว การใส่ส่วนผสมและน้ำก็สามารถใส่ได้ทันทีทันใดโดยไม่ต้องยืนสเปรย์น้ำ เพราะในถังผสมจะมีใบกวนคอยคลุกเคล้าให้ปุ๋ยเข้ากันได้ความชื้น ที่สม่ำเสมอ จึงพูดได้ว่าใครก็ได้ที่ยกปุ๋ยใส่ถังครั้งละ 40 กก.ใส่โดโลไมท์ครั้งละ 5 กก.แล้วเทน้ำลงไป 10 ลิตร ง่ายแค่นี้ "ใครก็ทำได้" | |
2.ควบคุมขนาดเม็ดปุ๋ยให้มีขนาดเท่า ๆ กัน | ||
![]() |
ไลอ้อนวันใช้ระบบลูกกลิ้งคู่ที่ออกแบบตามหลักวิศวกรรม ให้วิ่งบดอัดไปบนแผ่นตะแกรงรู(ขนาดรูปะมาณ 5 มม.) ดังนั้นเมื่อมีผงปุ๋ยบนพื้นตะแกรง ผงปุ๋ยจะถูกลูกกลิ้ง บดอัดจนผงปุ๋ยไหลออกไปตามรูตะแกรงลงด้านล่าง แรงกดของลูกกลิ้งจะสม่ำเสมอเพราะใช้แรงกดของสปริง ดังนั้นเม็ดปุ๋ยของไลอ้อนวันจะไม่แน่นมากเหมือน ระบบอัดเม็ดทั่วๆไป เม็ดปุ๋ยจากเครื่องไลอ้อนวัน จึงละลายแตกตัวง่ายในน้ำ แต่ก็ไม่แตกป่นในถุง | |
![]() |
ที่ด้านล่างของตะแกรง จะมีลวดตัดสเตนเลสที่หมุน ตามแกนของลูกกลิ้ง ดังนั้นเมื่อเส้นปุ๋ยที่ไหลลงมา ลวดตัดจะตัดเส้นปุ๋ยให้ขาดเป็นท่อน ยาวเท่าๆ กัน ด้วยระบบที่กล่าวนี้ทำให้สามารถป้นั ปุ๋ยอินทรีย์ได้ โดยปุ๋ยนั้นไม่จำเป็นต้องมีส่วนผสมของดิน | |
![]() ![]() | ||
เม็ดปุ๋ยที่ถูกตัดจะร่วงลงมาที่ถาดเหวี่ยงที่เป็นถาดอลูมิเนียมพื้นเอียงปลายเปิด ดังนั้น เม็ดปุ๋ยจะกลิ้งตัวไปมาพร้อมกับไหลออกที่ปลายถาดเหวี่ยง เม็ดปุ๋ยจึงกลมเนียน หรือในระบบใหม่ ไลอ้อนวันใช้ระบบท่อหมุน โดยใช้ท่อพลาสติกอย่างหนา แข็งแรงทนทาน หมุนปั้นคลึงเม็ดปุ๋ยให้กลม เม็ดปุ๋ยที่ได้จะกลมเนียนและมีขนาดที่เท่า ๆ กัน ดังภาพ สรุปได้ว่าไลอ้อนวันควบคุมขนาดเม็ดปุ๋ยได้อย่างแน่นอน ง่ายโดยไม่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษใดๆ |
![]() | |
3. ออกแบบไลอ้อนวันให้เป็นเครื่องจักรกลการเกษตรโดยแท้จริง | ||
3.1 ใช้ระบบลำลียงเป็นกะพร้อและโซ่ *ประหยัดพื้นที่ไม่เหมือนระบบลำเลียง แบบสายพาน *บำรุงรักษาง่าย เปลี่ยนซ่อมเป็นจุดได้ ไม่ต้องเปลี่ยนยกเส้น *มีระบบปรับความเร็วแบบดิจิตอล ในรุ่นเวอร์ชั่น2 ทำให้ทำงานง่ายขึ้น |
![]() | |
3.2 แผงสวิทช์ควบคุมระบบไฟฟ้าแบบอิสระ *ใช้ระบบสวิทช์คอนโทรลควบคุมแมกเนติก เพื่อเปิดมอเตอร์ ไม่ใช้เพียงเบรกเกอร์ *มีไฟแสดงการทำงานของแต่ละชุด *มีสวิทช์ฉุกเฉินกรณีต้องการหยุดฉับพลัน *มีกล่องควบคุมปรับความเร็วระบบดิจิตอล |
![]() | |
3.3 ระบบความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน *การติดตั้งเครื่องทุกครั้งจะต้องลงกราวน์ มอเตอร์ทุกตัวจะได้รับการเดินสายกราวน์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว | ||
![]() ![]() ![]() *มีกาด(GUARD) , ฝาครอบในจุดที่จะเป็นอันตรายกับผู้ใช้งาน | ||
3.4 ชิ้นส่วนของเครื่องสามารถถอดแยกและประกอบใหม่ได้ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย 3.5 ชิ้นส่วนที่เป็นสี จะใช้สีฝุ่นอบ จึงได้สีที่มาตรฐานคุณภาพสูงทนรอยขีดข่วนเป็นอย่างดี 3.6 ไม่นำของเก่ามารีไซเคิ้ลใช้กับเครื่องไลอ้อนวันอย่างเด็ดขาด 3.7 งานสร้างเครื่องจักรที่ปราณีต ไม่มีนโยบายใช้เศษเหล็กมาใช้ทำชิ้นส่วน 3.8 ใช้มอเตอร์และอะไหล่คุณภาพสูงเพราะไม่คุ้มที่จะตามซ่อมภายหลัง 3.9 ได้รับสิทธิบัตรเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่ได้เลียนแบบใคร | ||
ข้อเปรียบเทียบของเครื่องผลิตเม็ดปุ๋ยอินทรีย์ วิธีการขึ้นรูปเม็ดปุ๋ยอินทรีย์ในท้องตลาดทั่ว ๆ ไป พอแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1. แบบปั้นเม็ด 2. แบบอัดเม็ด |
||
แบบปั้นเม็ด (GRANULAR) | ||
![]() |
เครื่องจักรที่ใช้ส่วนมากได้แก่ จานปั้นเม็ด หลักการ การปั้นเม็ดปุ๋ยด้วยจานจะอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ที่ดึงดูดวัตถุ ที่มีมวลหรือน้ำหนัก ให้วิ่งเข้าหาศูนย์กลางของโลก หรือกล่าวง่ายๆได้ว่า ล่วงจากบนลงล่าง ดังนั้นหากเราปล่อยผงปุ๋ยจากส่วนบนของจานปั้นเม็ด ผงปุ๋ยก็จะล่วงหรือกลิ้งลงมาตามผิวของจานปั้น ในระหว่างที่ผงปุ๋ยกลิ้งลงมา หากผงปุ๋ย มีความชื้นที่เหมาะสม ผงปุ๋ยจะค่อยๆ เกาะตัวกัน เป็นก้อนค่อยๆโตขึ้น จนเป็นเม็ดปุ๋ย |
|
![]() |
เพื่อให้เกิดเป็นขบวนการปั้นเม็ดปุ๋ยที่ต่อเนื่องจึงใช้วิธีหมุนจานและปล่อย
ผงปุ๋ยลงบนผิวจาน ขณะที่จานกำลังหมุนผงปุ๋ยก็จะกลิ้งบนผิวจาน ระหว่างนั้นจะสเปรย์น้ำลงไปทั่วๆจนผงปุ๋ยได้ความชื้น และเริ่มเกาะตัวเป็นเม็ด จุดที่น่าสังเกตุจานจะแบ่งพื้นที่เป็น 2 วง ผงปุ๋ยจะถูกโปรยลงวงในและจะ สเปรย์น้ำในวงในนี้ด้วย ดังนั้นการก่อตัวเกิดเม็ดปุ๋ยจะทำขึ้นที่วงด้านในนี้ ส่วนพื้นที่วงนอก จะถูกใช้สำหรับเก็บงานปั้นผิวเม็ดปุ๋ยให้กลมเนียน โดยจะใช้แรงงานคนที่ถือพลั่วตัก คอยตักเม็ดปุ๋ยที่ดูว่าได้ขนาดที่เหมาะสมออกจากวงด้านในแล้วเทเม็ดปุ๋ยนั้นลงที่วงนอกของจานเพื่อให้เม็ดปุ๋ยนั้นกลิ้งบนผิวจาน จึงทำให้เม็ดปุ๋ยกลมเนียน |
|
เมื่อเห็นว่าเม็ดปุ๋ยสวยงามดีแล้ว จะใช้แรงงานคนอีกครั้ง เพื่อตักเม็ดปุ๋ยออกจากจานจึงเสร็จขบวนการปั้นเม็ดปุ๋ย หรือหากไม่ใช้แรงงานคนตักออก ก็จะใช้วิธีปล่อย ให้เม็ดปุ๋ยล้นขอบจานด้านล่างและร่วงออกจากจานเอง | ||
![]() ![]() ปล่อยเม็ดปุ๋ยล้นขอบจานด้านล่างร่วงลงบนสายพานลำเลียง เม็ดปุ๋ยที่ได้จากการปั้นด้วยจาน มีหลายขนาด |
||
ข้อดีของระบบจานปั้นเม็ด 1.เม็ดปุ๋ยกลมเนียน |
ข้อเสียของระบบจานปั้นเม็ด 1.การเกิดเป็นเม็ดปุ๋ย ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง ได้แก่ 1.1 ผงปุ๋ยที่จะนำมาปั้นด้วยระบบจานจะต้องมีความละเอียด จึงจะสามารถเกาะตัวกันได้ดี กากใหญ่หรือหยาบการกลิ้งตัวจะเกิดขึ้นยาก จึงเป็นเม็ดได้ยาก 1.2 ปุ๋ยจะต้องมีน้ำหนักที่ดี ทั้งนี้เพราะการปั้นด้วยจานจะอาศัยแรงดึงดูดของโลก หากปุ๋ย มีมวลหรือน้ำหนักน้อย จะไม่เกิดการกลิ้งตัว อาจเป็นเพียงลื่นไถลไปบนผิวจาน เป็นเม็ดยาก หนทางแก้ไขที่ทำกันคือผสมดินอย่างที่เป็นข่าว 1.3 ความชื้นที่สเปรย์ให้กับผงปุ๋ยจะต้องสม่ำเสมอและทั่วถึง ต้องไม่เปียกแฉะเฉพาะที่ นอกจากนั้นจะมีช่วงความพอเหมาะอยู่ช่วงเดียวเท่านั้น จึงเป็นการยากอย่างยิ่งสำหรับ มือใหม่ ถึงแม้เป็นปุ๋ยแบบเดียวกันแต่ต่างฤดูก็เกิคความแตกต่างในการให้น้ำ สิ่งที่ตามมาก็คือ ชุดปั้มน้ำและหัวฉีดสเปรย์ ที่ระบบจานปั้นขาดไม่ได้ 1.4 การตั้งมุมเอียงของจานปั้น เอียงมาก หรือน้อย ไม่มีมาตรฐานกำหนดวัด ผู้ที่จะบอกได้ว่า จะให้เอียงมากหรือน้อยคือคนที่ถือพลั่วตักดินหรือ คนที่จับหัวฉีดสเปรย์น้ำเท่านั้น ความลาดเอียงของจานยังขึ้นอยู่กับความเร็วรอบของการหมุนของจานอีกด้วย สรุป ถ้าจะปั้นปุ๋ยอินทรีย์ให้ได้ค่า ความเป็นอินทรีย์ ( OM ) ตามมาตรฐานเป็นไปได้ยาก 2.ควบคุมขนาดเม็ดปุ๋ยได้ยาก ทั้งนี้เนื่องจากการเกิดเม็ดเกิดจากการกลิ้งตัวของผงปุ๋ย ยิ่งกลิ้งมาก เม็ดก็จะยิ่งโต ดังนั้นความแตกต่างของขนาดเม็ดปุ๋ยย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอนด้วยเหตุผลคือ ปุ๋ยที่อยู่ห่างจุดศูนย์กลางมากเท่าใดเม็ดก็จะโตกว่าปุ๋ยที่อยู่กลางจานเพราะระยะทางกลิ้งที่ขอบจาน ย่อมมากกว่าที่ศูนย์กลางของจาน ผู้ที่ทำหน้าที่ปั้นคงควบคุมขนาดเม็ดปุ๋ยได้ไม่มากนัก สิ่งที่ตามาก็คือ ระบบจานปั้นเม็ดจะต้องมีเครื่องคัดแยกเม็ดปุ๋ย เม็ดใหญ่ก็นำกลับไปตีป่นใหม่ แล้ววนกลับมาปั้นอีกครั้ง ที่บอกว่าปั้นได้วันละ 5 ตัน ต้องพูดต่อว่า คัดทิ้ง 2 ตัน เหลือเพียง 3 ตัน ![]() ตั้งชื่อว่าเป็นเครื่องคัดเกรดปุ๋ย จริงๆแล้ว ควรเรียกว่าเครื่องคัดแยกขนาดเม็ดปุ๋ย เพราะถ้าไม่คัดออก คงไม่สามารถใช้งานได้แน่ 3. จากปัญหาข้อ 2 จึงเกิดระบบจานปั้นแบบมีหัวอัดเม็ด ดังภาพ |
|
![]() | ||
เพื่อจะตัดปัญหาขนาดเม็ดโตไม่เท่ากัน จึงมีผู้ที่คิดต่อโดยใช้เครื่องอัดเม็ดระบบเดือยหมู อัดผงปุ๋ย
ผ่านหน้าแปลนรูตะแกรงและมีลวดตัดเพื่อให้ได้เม็ดปุ๋ยที่มีขนาดเท่ากัน แล้วจึงปั้นเม็ดปุ๋ยให้กลม
ด้วยจานปั้น แต่ปัญหาอื่นที่ตามมาคือ 3.1 ขบวนการทำงานไม่ต่อเนื่อง กล่าวคือ ต้องเอาผงปุ๋ยผสมในถังผสมที่หนึ่ง ตักออกใส่ถังแล้วหิ้วมาส่งให้คนที่นั่งเฝ้าคอยกรอกที่เครื่องอัด ดูแล้วไม่ทันสมัย เปลืองแรงงาน 3.2 เครื่องอัดเม็ดมีปัญหามากใช้งานไม่ได้ อัดแล้วติดขัด ต้องคอยแคะล้างตลอด ทั้งนี้เพราะ เครื่องอัดเม็ดที่ทำคุณภาพต่ำ ใช้มอเตอร์ขนาดเล็กและยังต่อพ่วงเพื่อใช้หมุนจานด้วย สรุปคือ คนออกแบบขาดความรู้ด้านวิศวกรรม 3.3 อัตราการผลิตต่ำมาก เพียงวันละ ไม่เกิน 1.5 ตันที่ 8 ชม. 3.4 ใช้มอเตอร์คุณภาพต่ำทั้งหมด 4.ลักษณะจานปั้นเม็ดต้องใหญ่เพื่อให้มีพื้นที่ให้ปุ๋ยกลิ้งตัวได้มาก ดังนั้นโรงเรือนสำหรับระบบจาน ต้องใหญ่ สูง ยิ่งหากมีสายพานลำเลียงยิ่งต้องใหญ่โตมาก สรุปแล้วเปลืองพื้นที่ 5.สภาพแวดล้อมในการทำงานสกปรก ฝุ่นมาก มลพพิษสูง เสียสุขภาพ | ||
![]() | ||
แบบอัดเม็ด เครื่องจักรที่ใช้ได้แก่ 1. แบบเครื่องบดเนื้อสัตว์ ( MINCER) mince = เนื้อบด , สับให้ละเอียด | ||
![]() |
![]() | |
หลักการ ตัวเครื่องประกอบด้วย 1. กระบอกเสื้อ ทำด้วยโลหะ 2. แกนเกลียวเดือยหมูที่มีขนาดความโตใกล้เคียงกระบอกเสื้อด้านใน 3. หน้าแปลนรู |
||
![]() ![]() ![]() กระบอกเสื้อ เกลียวเดือยหมู หน้าแปลนเป็นรู |
||
เมื่อเดือยหมูที่มีลักษณะเป็นเกลียว หมุนอยู่ในกระบอกเสื้อ ผงปุ๋ยจะถูกเกลียวดันส่งออกไปทางรูหน้าแปลนทำให้ผงปุ๋ยถูกอัดแน่น และไหลผ่านรูที่หน้าแปลนเป็นเส้น ดังรูป | ||
![]() |
![]() |
เม็ดปุ๋ยที่ตากแห้งจะหัก เป็นท่อนๆ |
ข้อดี 1. ผงปุ๋ยกากใหญ่ ๆ สามารถ อัดเป็นเม็ดได้ |
ข้อเสีย 1. เม็ดปุ๋ยเป็นท่อนๆคล้ายอาหารสัตว์ เพราะถูกอัดผ่านรู ส่วนใหญ่จะเป็นรูโตๆ เพราะรูเล็กๆ จะอัดยากมาก 2. เม็ดปุ๋ยแห้ง แข็งมาก เป็นท่อนๆ ละลายน้ำยาก ใส่เครื่องพ่นปุ๋ยไม่ได้ 3. แรงอัดสูง ดังนั้นเครื่องที่จะได้ผลดี จะต้องใช้มอเตอร์กำลังสูงมากๆ 4. การสึกหรอที่แกนเกลียวเดือยหมูสูง ลูกปืนแกนเกลียวเสียหายเป็นประจำ 5. หน้าแปลนสึกเร็ว ต้องเปลี่ยนหน้าแปลนบ่อย 6. อัตราการผลิตต่ำมากไม่เหมาะกับอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ย |
|
มีเครื่องจักรที่ทำจากต่างประเทศ โดยหลักการเดียวกัน แต่ราคานับร้อยล้านบาท ใช้มอเตอร์ นับร้อยแรงม้า (EXTRUDER)![]() แกนเกลียวเครื่อง EXTRUDER มีลักษณะเป็นแกนเรียว สร้างแรงอัดสูง | ||
2. แบบอัดเม็ดออกด้านข้าง (PELLET MILL) | ||
![]() ![]() | ||
![]() |
หลักการ เมื่อเปิดฝาครอบจะเห็นว่า มีลูกกลิ้งบดอัดปุ๋ย 2 ลูก หมุนรอบแกนกลาง จึงทำให้ลูกกลิ้งบดอัดที่ผิว ทรงกระบอกด้านใน หากมีผงปุ๋ยจะบดให้ปุ๋ย ไหลออกด้านข้างของทรงกระบอกที่เจาะรูไว้ ผงปุ๋ยที่ไหลออกมาจะถูก เส้นลวดตัด ให้ขาดเป็นท่อน ๆ | |
![]() ![]() | ||
ข้อดี 1. ผงปุ๋ยกากใหญ่ๆ สามารถอัดเป็นเม็ดได้ |
ข้อเสีย 1. เม็ดปุ๋ยแห้ง แข็งมาก เป็นท่อนๆ ละลายน้ำยาก ใส่เครื่องพ่นปุ๋ยไม่ได้ 2. การสึกหรอของลูกกลิ้งและกระบอกเสื้อ สูง เสียหายง่าย 3. ออกแบบเครื่องจักรไม่แข็งแรง โดยเฉพาะตรงหัวใจสำคัญคือลูกกลิ้ง 4. อุปกรณ์แยกชิ้นเป็นตัวๆ ไม่มีขบวนการที่ต่อเนื่อง | |
สรุป จะเห็นได้ว่าเครื่องผลิตเม็ดปุ๋ยแต่ละชนิดที่ถูกผลิตขึ้น 1. ไม่มีความคิดเป็นของตนเอง มักลอกเลียนหรือจำลองแบบมาจากเครื่องจักรใหญ่ๆจึงไม่สามารถทำงานได้สมบูรณ์แบบจริง 2. มักคิดออกแบบเป็นช่วง เป็นตอน ไม่มีขบวนการที่ต่อเนื่อง จึงเปลืองแรงงานหรือหากจะเสริมอุปกรณ์ช่วยก็ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย ราคาเครื่องก็สูงเช่นกัน 3. การออกแบบรูปลักษณ์ หรือการประดิษฐ์ชิ้นส่วน ไม่ค่อยคำนึงถึงรูปลักษณ์ที่เป็นสากล หรือให้มองดูเป็นเครื่องจักรโดยแท้จริง บางครั้งนำเศษเหล็กหรือวัสดุที่เหลือใช้มารีไซเคิ้ลเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักร ดังตัวอย่างในรูป ![]() 4. อุปกรณ์ต่างๆเช่นลูกปืน ตุ๊กตา มอเตอร์ หรืออื่นๆ มักใช้ของราคาถูกโดยเฉพาะของจากประเทศที่ทุกคนรู้ดีว่าเป็นของคุณภาพต่ำ ราคาถูก | ||
สุดท้ายขอฝากข้อคิดไว้ว่า *ทำไมเครื่องปั้นเม็ดปุ๋ยอื่นๆจึงไม่มียี่ห้อเป็นของตนเอง? ไม่มีสิทธิบัตร? *เลือกซื้อของถูกทีละชิ้นมารวมกันก็แพงอยู่ดี ? *ซื้อเพื่อไปใช้งานก็ซื้อไลอ้อนวัน *ทำไมรถเบนซ์ถึงแพงกว่ารถโตโยต้า ? *มีแต่ไลอ้อนวันที่ให้ทดลองปั้นจนมั่นใจจึงค่อยซื้อ |
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ | ||
บริษัท โปรเกรส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ โปรดัคส์ จำกัด | ||
คุณพรทิพย์ จำปาเงินทวีศรี กรรมการ/ผู้จัดการฝ่ายขาย | ||
โทรศัพท์ | : | 062-142 3659 |
คุณกิษติณัฐช์ จำปาเงินทวีศรี กรรมการ/ฝ่ายวิศวกรรม | ||
โทรศัพท์ | : | 098-824 5149 |
คุณวันชยา นิตยว่องวิทย์ วิศวกรฝ่ายขาย | ||
โทรศัพท์ | : | 087-985 5565 |
คุณภูเมธ เบญญากุลนันท์ ฝ่ายขาย | ||
โทรศัพท์ | : | 080-453 8865 |
คุณนภัสพรพรรณ จำปาเงินทวีศรี เจ้าหน้าที่ประสานงานฝ่ายขาย | ||
โทรศัพท์ | : | 064-823 2394 |
: | sales.lion1@gmail.com | |
สำนักงาน | : | 24/9 หมู่ 17 ซ.พหลโยธิน60 ถ.พหลโยธิน ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130 |
โทรศัพท์สำนักงาน 02-993 8647 | ||
โทรสารสำนักงาน 02-993 8704 | ||
โรงงาน | : | 381 หมู่ 6 ต.ดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี 72170 |
โทรศัพท์โรงงาน 035-592 212 | ||
โทรสารโรงงาน 035-592 224 |